วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

ฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล ประกอบด้วยกลุ่มการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล วิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ะบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ

ประวัติ

ฐานข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกับฐานข้อมูลสมัยใหม่ ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในทศวรรษ 1960 ซึ่งผู้บุกเบิกในสาขานี้คือ ชาลส์ บากแมน แบบจำลองข้อมูลสำคัญสองแบบเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ซึ่งเริ่มต้นด้วย แบบจำลองข่ายงาน (พัฒนาโดย CODASYL) และตามด้วยแบบจำลองเชิงลำดับชั้น (นำไปปฏิบัติใน IMS) แบบจำลองทั้งสองแบบนี้ ในภายหลังถูกแทนที่ด้วย แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับแบบจำลองอีกสองแบบ แบบจำลองแบบแรกเรียกกันว่า แบบจำลองแบนราบ ซึ่งออกแบบสำหรับงานที่มีขนาดเล็กมาก ๆ แบบจำลองร่วมสมัยกับแบบจำลองเชิงสัมพันธ์อีกแบบ คือ ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ หรือ โอโอดีบี3 (OODB)
ในขณะที่แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีเซต ได้มีการเสนอแบบจำลองดัดแปลงซึ่งใช้ทฤษฎีเซตคลุมเครือ (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากตรรกะคลุมเครือ) ขึ้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ปัจจุบันมีการกล่าวถึงมาตรฐานโครงสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่างระบบ ให้สืบค้นรวมกันเสมือนเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน และการสืบค้นต้องแสดงผลตรงตามคำถาม มาตรฐานดังกล่าวได้แก่ XML RDF Dublin Core Metadata เป็นต้น และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลรหว่างต่างหน่วยงานได้ดี คือการใช้ Taxonomy และ อรรถาภิธาน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับจัดการความรู้ในลักษณะศัพท์ควบคุม เพื่อจำกัดความหมายของคำที่ใช้ได้หลายคำในความหมายเดียวกัน

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล ประกอบด้วย 3 ระดับ คือ ระดับภายนอก, ระดับแนวคิด และ ระดับภายใน โดยทั้ง 3 ระดับ จะถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยชัดเจน ซึ่งทั้ง 3 ระดับเป็นลักษณะสำคัญหลักๆ ของแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ที่นิยทนำมาใช้กับฐานข้อมูลในยุคศตวรรษที่ 21
ระดับภายนอก คือ การบอกผู้ใช้ให้เข้าใจว่าจะจัดการข้อมูลได้อย่างไร โดยในฐานข้อมูลหนึ่งๆ สามารถมีจำนวนวิวที่ระดับภายในกี่วิวก็ได้ ระดับภายใน คือ การที่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในที่จัดเก็บข้อมูลเชิงกายภาพและประมวลผลโดยระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร สถาปัตยกรรมภายในจะมีเกี่ยวข้องกับ ต้นทุน, ประสิทธิภาพ, การขยายขนาดของงาน และ ปัจจัยในการดำเนินการอื่นๆ ระดับแนวคิด คือ ระดับที่อยู่ระหว่างระดับภายในและระดับภายนอก โดยจะต้องจัดเตรียมวิวของฐานของมูลให้ไม่ซับซ้อน โดยจะมีรายละเอียดว่าจะจัดเก็บหรือจัดการข้อมูลอย่างไร, และสามารถรวมระดับภายนอกที่หลากหลายต่างๆ ให้สอดคล้องเข้าไว้ด้วยกัน

ระบบจัดการฐานข้อมูล

ระบบจัดการฐานข้อมูล(DBMS) ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล, จัดเตรียมพื้นที่ในการเก็บ, การเข้าถึง, ระบบรักษาความปลอดภัย, สำรองข้อมูล และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ตามแบบจำลองฐานข้อมูลที่สนับสนุน อาทิเช่น เชิงสัมพันธ์หรือ XML เป็นต้น แบ่งตามประเภทของคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุน อาทิเช่น server cluster หรือ โทรศัพท์พกพา เป็นต้น แบ่งตามประภทของภาษาสอบถามที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูล อาทิเช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง หรือ XQuery แบ่งตามประสิทธิภาพในการ trade-offs อาทิเช่น ขนาดที่ใหญ่ที่สุด หรือ ความเร็วสูงสุด หรือ อื่นๆ เป็นต้น ในบาง DBMS จะครอบคลุมมากกว่าหนึ่งหมวดหมู่ เช่น สนับสนุนภาษาสอบถามได้หลายๆ ภาษา ยกตัวอย่างเช่น ใน DBMS ที่นิยมใช้การอย่างแพร่หลาย MySQL, PostgreSQL, Microsoft Access, SQL Server, FileMaker,Oracle,Sybase, dBASE, Clipper,FoxPro อื่นๆ ในทุกๆ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลจะมี Open Database Connectivity (ODBC) driver มาให้ด้วย เพื่ออนุญาติให้ฐานข้อมูลสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลแบบอื่นๆ ได้

การออกแบบฐานข้อมูล

การออกแบบฐานข้อมูล (Designing Databases) มีความสำคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล (DBMS) ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียกใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ 3 ประเภท
1. รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น หรือโครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical data model) วิธีการสร้างฐาน ข้อมูลแบบลำดับขั้นถูกพัฒนาโดยบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด ในปี 1980 ได้รับความนิยมมาก ในการพัฒนาฐานข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยที่โครงสร้างข้อมูลจะสร้างรูปแบบเหมือนต้นไม้ โดยความสัมพันธ์เป็นแบบหนึ่งต่อหลาย (One- to -Many)
2. รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data Model) ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายมีความคล้ายคลึงกับฐาน ข้อมูลแบบลำดับชั้น ต่างกันที่โครงสร้างแบบเครือข่าย อาจจะมีการติดต่อหลายต่อหนึ่ง (Many-to-one) หรือ หลายต่อหลาย (Many-to-many) กล่าวคือลูก (Child) อาจมีพ่อแม่ (Parent) มากกว่าหนึ่ง สำหรับตัวอย่างฐานข้อมูลแบบเครือข่ายให้ลองพิจารณาการจัดการข้อมูลของห้องสมุด ซึ่งรายการจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ที่อยู่ ประเภท
3. รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relation data model) เป็นลักษณะการออกแบบฐานข้อมูลโดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางที่มีระบบคล้ายแฟ้ม โดยที่ข้อมูลแต่ละแถว (Row) ของตารางจะแทนเรคอร์ด (Record) ส่วน ข้อมูลนแนวดิ่งจะแทนคอลัมน์ (Column) ซึ่งเป็นขอบเขตของข้อมูล (Field) โดยที่ตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นจะเป็นอิสระ ดังนั้นผู้ออกแบบฐานข้อมูลจะต้องมีการวางแผนถึงตารางข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เช่นระบบฐานข้อมูลบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ตารางประวัติพนักงาน ตารางแผนกและตารางข้อมูลโครงการ แสดงประวัติพนักงาน ตารางแผนก และตารางข้อมูลโครงการ

การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

การออกแบบฐานข้อมูลในองค์กรขนาดเล็กเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอาจเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากนัก เนื่องจากระบบและขั้นตอนการทำงานภายในองค์กรไม่ซับซ้อน ปริมาณข้อมูลที่มีก็ไม่มาก และจำนวนผู้ใช้งานฐานข้อมูลก็มีเพียงไม่กี่คน หากทว่าในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งมีระบบและขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน รวมทั้งมีปริมาณข้อมูลและผู้ใช้งานจำนวนมาก การออกแบบฐานข้อมูลจะเป็นเรื่องที่มีความละเอียดซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานพอควรทีเดียว ทั้งนี้ ฐานข้อมูลที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรได้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลภายในองค์กรทั้งนี้ การออกแบบฐานข้อมูลที่นำซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลมาช่วยในการดำเนินการ สามารถจำแนกหลักในการดำเนินการได้ 6 ขั้นตอน คือ

1.การรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ข้อมูล
2.การเลือกระบบจัดการฐานข้อมูล
3.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด
4.การนำฐานข้อมูลที่ออกแบบในระดับแนวคิดเข้าสู่ระบบจัดการฐานข้อมูล
5.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ
6.การนำฐานข้อมูลไปใช้และการประเมินผล

การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ

การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ หรือในระดับแนวความคิด เป็นขั้นตอนการออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในระบบโดยใช้แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งอธิบายโดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (E-R Diagram) จากแผนภาพ E-R Diagram นำมาสร้างเป็นตารางข้อมูล (Mapping E-R Diagram to Relation) และใช้ทฤษฏีการ Normalization เพื่อเป็นการรับประกันว่าข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด ซึ่งการออกแบบเชิงตรรกะนี้จะบอกถึงรายละเอียดของ Relation , Attribute และ Entity

การใช้อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

      ความรู้พื้นฐานของการใช้งาน อินเตอร์เน็ต (Internet)นั้น ประกอบด้วยการใช้งานด้านการค้นหาข้อมูลและสื่อสารข้อมูล เป็นหลัก ในที่นี้ จะกล่าวถึงการใช้งาน Browser ในการค้นหาข้อมูลและสื่อสารข้อมูล โดยการค้นหาข้อมูล จะกล่าวถึงการใช้งาน Search Engine และการสื่อสารข้อมูลจะเป็นลักษณะของการสื่อสารข้อมูลด้วย E-Mail
Browser คืออะไร
            Browser คือ โปรแกรมระบบงานที่ใช้เพื่อค้นหาทรัพยากรต่าง ๆ ใน Internet โดย Browser นั้น จะให้ผู้ใช้เดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่สนใจรายละเอียดทางเทคนิคของการเชื่อมต่อระหว่างจุด หรือวิธีการเฉพาะที่จะเข้าไปใช้จุดเหล่านั้น และนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อความ ( Text ) , ภาพ ( Graphics ) , เสียง ( Sound ) หรือภาพเคลื่อนไหว ( Animation ) ในเอกสารบนจอภาพ

การใช้งาน Internet Explorer

            Internet Explorer (IE)เป็น Browser ซึ่งผลิตโดยบริษัท Microsoft ซึ่งมีมาให้พร้อมกับ Microsoft Windows ตั้งแต่ Windows 98 ขึ้นไป โดยที่หากเป็น Windows98 ก็จะเป็น IE4.0 , Windows98 SE ก็จะเป็น IE5.0 , Windows Me ก็จะเป็น IE5.5 , สุดท้ายถ้าเป็น Windows XP ก็จะเป็น IE6.0 ดังนั้น หากคิดจะใช้อินเตอร์เน็ตด้วย IE แล้ว จำเป็นต้องทราบเทคนิค พื้นฐานเบื้องต้นในการใช้ IE ด้วย

การกำหนด Text Size และ Encode ของตัวอักษร

            เป็นการกำหนดขนาดของตัวอักษรและการเข้ารหัสภาษา ที่แสดงในแต่ละหน้าของ Web Page ซึ่งเราสามารถทำการปรับแต่งขนาด และการกำหนดภาษานี้ได้ ซึ่งในบางครั้ง หากผู้ใช้เข้าไปบาง Web Site แล้วไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ให้ทำการเปลี่ยน Encoding ช่องนี้ให้เป็น Thai ก็จะแสดงตัวอักษรไทยออกมา

สามารถทำได้ คือ

 คลิกเมนู View à เลือก Text Size หรือ Encoding à เลือกขนาดตัวอักษร หรือ รหัสภาษา

การเก็บ Link หรือ URL ของ Web Site ที่ใช้งานบ่อยครั้งไว้ใน Favorites

            ขณะที่ใช้งาน Internet ไปแล้วพบว่า มี Web Site ที่ใช้งานบ่อยครั้ง แล้วต้องการเก็บ Link หรือ URL ของหน้า Web Page นั้นไว้ ก็สามารถทำได้ มีวิธีทำดังนี้ คือ

 คลิกเลือกเมนู Favorites à คลิก Add to Favorite à เปลี่ยนชื่อ page เลือก àโฟลเดอร์ ที่ต้องการเก็บหรือสร้างโฟลเดอร์ใหม่ à คลิก OK

การใช้งาน Internet Explorer แบบ Offline

                การใช้งานแบบ Offline ก็คือการที่เราทำการเก็บข้อมูลของหน้า Web Page ที่ได้เคยเข้าไปเยี่ยมชมแล้ว และทำการเรียกมาดูใหม่อีกครั้ง โดยที่ไม่ต้องทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต มีวิธีทำคือ

 คลิกเมนู File à เลือก Save As… à เลือก Drive และ โฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ à คลิก OK

การตั้งค่าหน้า Web page เริ่มต้น เมื่อเปิดโปรแกรม Internet Explorer

                เมื่อเราต้องการให้หน้า Web page ที่เราเปิด Internet Explorer ครั้งแรก เป็นเว็บใดหรือแบบใด เพื่อความสะดวกในการใช้งาน สามารถทำได้ ดังนี้

 คลิกเมนู Tools à คลิก Internet option… à เลือกแท็บ General

การพิมพ์หน้า Web page ที่ต้องการ

                การ Preview ดู ก่อนสั่งพิมพ์หน้า Web Page  มีวิธีทำดังนี้

 คลิกเมนู File à คลิก Print Preview…

                การตั้งค่าหน้ากระดาษ ก่อนพิมพ์ มีวิธีทำ ดังนี้

   คลิกเมนู File à คลิก Page Setup…

                การสั่งพิมพ์หน้า Web page  มีวิธีทำ ดังนี้

 คลิกเมนู File à คลิก Print…

การเคลียร์ Username และ Password หลังจากได้ถูกบันทึกไว้ในเครื่อง

                หลังจากที่เราได้เข้าใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตามผ่าน Web ที่ต้องให้มีการเข้าใช้งานโดยการกรอก Username และ Password ต่าง ๆ และได้บันทึก Username และ Password เหล่านั้นไว้ ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างมาก ในกรณีที่ใช้เครื่องร่วมกับผู้อื่น วิธีการลบ โดยไม่ให้เครื่องจดจำ Username และ Password ของเราสามารถทำได้ ดังนี้

1.คลิกเมนู Tools à คลิก Internet option… à เลือกแท็บ Content

2.คลิกปุ่ม AutoComplete à คลิกปุ่ม Clear Forms à คลิก OK

3.คลิกปุ่ม Clear Passwords à คลิก OK

เทคนิคการใช้งาน Internet Explorer

   การกดปุ่ม เมาส์ขวาเพื่อเรียกเมนูใช้งานอย่างรวดเร็ว เช่นการเก็บรูปภาพ การเปิดหน้าต่างใหม่ หรืออื่น ๆ

   การกดปุ่ม ALT + ปุ่มลูกศร ซ้าย หรือ ขวา จะเป็นการเรียกใช้เมนู Back หรือ Forward ได้เช่นกัน

   การกดปุ่ม Ctrl + N เป็นการเปิดหน้าต่างใหม่เพิ่มขึ้นมา

   การค้นหาข้อความในหน้า Web Page สามารถใช้เมนู Edit และ Find (on This Page) หรือกด Ctrl + F ได้

   หากพบภาพที่ถูกใจ สามารถตั้งให้เป็น Wall Paper ได้ทันทีโดยกดปุ่มเมาส์ขวา เลือกที่ Set as wallpaper

   การกดปุ่ม Ctrl + N เป็นการเปิดหน้าต่างใหม่เพิ่มขึ้นมา

การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ Search Engine

Search Engine คือ โปรแกรมซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวค้นหาข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต  ซึ่ง Search Engine ที่นิยมใช้นั้นมีด้วยกันหลายตัวด้วยกัน เช่น Google (www.google.co.th),Dogpile (www.dogpile.com)

ALLTHEWEB ( www.alltheweb.com ) Yahoo (www.yohoo.com) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะอธิบายวิธีการใช้งาน Google ซึ่งเป็น Search Engine ที่มีความนิยมที่สุดในขณะนี้

หลักพื้นฐานในการค้นหาข้อมูลด้วย Google

การค้นหาข้อมูลด้วย Google นั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์หัวข้อค้นหา (ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่อธิบายข้อมูลที่คุณต้องการค้นหาได้ดีที่สุด) ในกล่องข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ‘Enter’ หรือคลิกที่ปุ่ม ‘Google Search’

หรือ ค้นหาโดย Google” จากนั้น Google ก็จะคืนผลลัพธ์ เป็นรายการของหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาของคุณ โดยหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องที่ชัดเจนที่สุดจะปรากฏออกมาเป็นลำดับแรก

(วิธีทำ ในเอกสาร วิธีการใช้งาน Google ค้นหาข้อมูล)



การรับ ส่ง ข้อมูลผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E – Mail ( Electronics Mail )

เป็นการรับส่งจดหมายด้วยระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย มีลักษณะคล้ายกับการรับส่งจดหมายแบบปกติ แต่มีความสะดวกและรวดเร็วกว่ามาก สามารถเขียนจดหมายถึงผู้รับได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

(วิธีทำ ในเอกสาร วิธีการใช้งาน E-mail Hotmail”

สื่อนำสัญญาณ

สายสัญญาณและสื่อไร้สาย

     ความจริงอย่างหนึ่งเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคือ ระบบเครือข่ายไม่อาจจะมีประสิทธิภาพ
ดีกว่าที่สายสัญญาณสามารถรองรับได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประสิทธิภาพของเครือข่ายจะถูกจำกัดด้วยสายสัญญาณที่ใช้ การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้นั้น คอมพิวเตอร์เหล่านี้ต้องมีการเชื่อมต่อกันด้วยสื่อนำสัญญาณประเภทใดประเภทหนึ่ง สื่อนำสัญญาณที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีหลายประเภทด้วยกัน เมื่ออ่านจบบทนี้ผู้อ่านจะได้ทราบถึงสื่อประเภทต่างๆ ที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เลเยอร์ 1 ที่กำหนดในแบบอ้างอิง OSI ในบทที่ผ่านมานั้น เป็นเลเยอร์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งบิตต่อเนื่องผ่านสายสัญญาณหรือสื่อกลางที่ใช้ นอกจากนี้ข้อกำหนดของเทคโนโลยี LAN ยังได้เพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสายสัญญาณที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายสองอุปกรณ์ใดๆ แต่ไม่ได้กำหนดไปถึงตัวสายสัญญาณจริงๆ
บทบาทความสำคัญของสายสัญญาณในระบบเครือข่าย พร้อมทั้งกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสายสัญญาณแต่ละประเภทพร้อมทั้งวิธีวัดประสิทธิภาพและข้อจำกัดของสายสัญญาณแต่ละประเภท
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากสายสัญญาณเป็นสื่อนำข้อมูลแล้ว สื่อไร้สายก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย เช่น WLAN (Wireless LAN) เป็นเครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้อากาศเป็นสื่อนำสัญญาณที่ผ่านมานั้นแต่ละบริษัทจะผลิตอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้กับ WLAN ที่มีลักษณะเฉพาะและอุปกรณ์ที่ผลิตจากต่างบริษัทกันจะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ จนกระทั่งช่วงหลังนี้ IEEE ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับ WLAN หรือ IEEE 802.11 ซึ่งทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป


สื่อนำสัญญาณที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้
· สายสัญญาณ
- สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable)
- สายคู่เกลียวบิด (Twisted Pairs)
- สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics)
· สื่อไร้สาย (Wireless)



วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของแรมและรอม

ประเภทของแรม

เราสามารถแบ่ง แรม ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. SRAM หรือมาจากคำเต็มว่า Static RAM ซึ่งจะเป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องมีการรีเฟรชข้อมูล SRAM จะมีความเร็วในการทำงานสูง แต่ในขณะเดียวกัน SRAM ก็จะกินไฟมากและมีราคาแพงกว่า DRAM มาก ดังนั้น เราจึงไม่นิยมนำมาทำเป็นหน่วยความจำหลัก แต่จะนิยมใช้ SRAM ไปทำเป็นหน่วยความจำแคช หรือ Cache Memory แทน

2. DRAM หรือมาจากคำว่า Dynamic RAM ซึ่งก็จะเป็นหน่วยความจำที่ต้องมีการรีเฟรช ข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเลย เพื่อไม่ให้ข้อมูลในหน่วยความจำนั้นสูญหายไป สำหรับการรีเฟรช ( Refresh ) ก็คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำชนิด DRAM นี้ จะเก็บอยู่ในรูปของประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้านี้จะสูญหายไปถ้าไม่มีการเติมประจุไฟฟ้าตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องมีวงจรสำหรับการทำรีเฟรชหน่วยความจำชนิด DRAM  แต่หน่วยความจำชนิด DRAM ก็มีข้อดีของมันเหมือนกัน นั่นก็คือ มีราคาที่ถูก และสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าด้วย ดังนั้นเราจึงนิยมใช้หน่วยความจำชนิด DRAM นี้มาเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์
ต่อไปเราก็มาทำความรู้จักกับแรมแบบ DRAM กันเถอะ ว่ามีชนิดใดบ้างและแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร แรมแบบ DRAM สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

1. EDO DRAM
ย่อมาจากคำว่า Extended Data Out DRAM ค่ะ ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิด DRAM ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท ไมครอน หน่วยความจำชนิด EDO เริ่มมีใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเพนเทียม ในยุคแรกๆ และจะมี 72 Pin สำหรับเสียบสล็อตแบบ SIMM ( Single Inline Memory Module ) จะทำงานในแบบ 32 บิตค่ะ เพราะว่ามีหน้าสัมผัสเพียงแค่ด้านเดียว เพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้กับซีพียู ที่ทำงานในแบบ 64 บิต เราก็จะต้องใส่เป็นคู่ ถึงจะสามารถทำงานได้ ปัจจุบันอาจจะดูล้าสมัยไปแล้ว เพราะเป็นแรมชนิดที่เก่าและทำงานได้ช้า จึงไม่นิยมใช้กันแล้ว
รูปแสดงแรมชนิด EDO DRAM
2. SDRAM
ย่อมาจากคำว่า Rambus DRAM  คือจะเป็นหน่วยความจำชนิด DRAM และ SDRAM จะมีลักษณะเป็นแผงจำนวน 168 Pin สำหรับเสียบลงในสล็อตแบบ DIMM ( Dual Inline Memory Module ) เพราะว่ามีหน้าสัมผัสทั้งสองด้านจึงทำงานได้ในแบบ 64 บิต เพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้เราก็สามารถเสียบลงบนเมนบอร์ดทีละ 1 อันได้เลย โดย SDRAM จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลตั้งแต่ 66 MHz, 100 MHz และ 133 MHz เป็นต้น ปัจจุบันหน่วยความจำแบบ SDRAM จะค่อยๆ ลดความนิยมไปแล้ว และคิดว่ากำลังจะหายไปจากตลาดในไม่ช้านี้

รูปของแรมชนิด SDRAM
3. DDR SDRAM หรือ SDRAM II
DDR SDRAM ย่อมาจากคำว่า Double Data Rate Synchronous DRAM เป็นแรมที่มีการพัฒนาต่อจาก SDRAM  เพื่อที่จะให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวเลย DDR SDRAM ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแข่งกับแรม แบบ Rambus และ DDR SDRAM มีขนาดความจุตั้งแต่ 128 MB ขึ้นไป ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผงไว้สำหรับเสียบลงในสล็อต แบบ DIMM เหมือนกันกับ SDRAM เพียงแต่ว่า DDR SDRAM จะมี 184 Pin  และเป็นแรมที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุดอยู่ในขณะนี้ แถมราคาก็ไม่แพงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับ Rambus DRAM  โดยในปัจจุบัน DDR SDRAM มีออกมาให้ใช้กันอยู่ 3 รุ่น คือ รุ่น PC1600, PC2100 และ PC2700 ซึ่งในแต่ละรุ่นจะมีความเร็ว 200 MHz, 266 MHz และ 333 MHz และนอกจากนี้มันยังสามารถใช้งานกับซีพียูชนิดใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดและในปัจจุบัน DDR SDRAM ยังถือเป็นหน่วยความจำที่มีมาตรฐานด้วย

รูปของแรมชนิด DDR SDRAM หรือ SDRAM II
4. RDRAM
ย่อมาจากคำว่า Rambus DRAM  เป็นแรมที่มีความเร็วมากที่สุด และมีราคาแพงมากที่สุดด้วยจะมีจำนวน 184 Pin และRDRAM เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย บริษัท Rambus และมี บริษัท Intel เป็นผู้สนับสนุนด้วย แรมชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความเร็วระบบบัสที่สูงขึ้นถึง 400 MHz และ 800 MHz  ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานประเภทมัลติมีเดีย อย่างเช่น การใช้แสดงภาพ 3 มิติ เป็นต้น และจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย และก็มีลักษณะเป็นแผงโดยแต่ละแผงจะเสียบลงในช่องของ Rambus หนึ่งช่อง ซึ่งจะเรียกว่า RIMM คือ Rambus Inline Memory Module ซึ่งจะใส่แค่เพียงหนึ่งช่อง แค่นี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณก็จะสามารถทำงานได้แล้ว และแรมชนิดนี้ Intel ตั้งใจจะนำมาใช้งานกับซีพียู รุ่น Pentium 4 เท่านั้น และเมนบอร์ดก็จะต้องใช้ชิปเช็ตที่สนับสนุนด้วย ซึ่งได้แก่ ชิปเซ็ต i850 ของอินเทลเป็นต้น ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก เพราะว่ามีราคาแพง
รูปของแรมชนิด RDRAM

     ยังมีหน่วยความจำชนิดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาแทนที่ DDR SDRAM ซึ่งเป็นแรมที่มีมาตรฐานอยู่ในทุกวันนี้ หน่วยความจำชนิดนี้ก็คือ DDR2 SDRAM หรือ DDR II จะมีลักษณะเด่นอยู่ก็คือ มันจะสามารถเข้าถึงและส่งข้อมูลได้มากกว่า หน่วยความจำชนิด DDR SDRAM ถึงสองเท่าเลย และมันยังกินไฟน้อยกว่าหน่วยความจำชนิด DDR SDRAM อีกด้วย และ DDR2 SDRAM ยังมีการปรับปรุงในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายๆ จุด เช่นในเรื่องของการ Fetch หรือการจัดการกับข้อมูลโดยที่ไม่จำเป็นต้องมาจากข้อมูลกลุ่มเดียวกัน และในปัจจุบันนี้ บริษัทผู้ผลิตหน่วยความจำนั้น เริ่มผลิตส่วนที่เป็นตัวอย่างออกมาทดลองใช้กันบ้างแล้วล่ะส่วน DDR2 SDRAM จะออกวางขายเมื่อไรนั้น บริษัทผู้ผลิตหน่วยความจำส่วนใหญ่คาดว่า DDR II จะออกวางจำหน่ายได้ในปีหน้าอย่างแน่นอน สำหรับผู้ที่สนใจก็คอยติดตามกันไป

ประเภทของรอม
 คือหน่วยความจำชนิดหนึ่ง ที่มีโปรแกรม หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรง ซึ่งโปรแกรม หรือข้อมูลนั้นจะไม่สูญหายไป
แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะสามารถอ่านออกมาได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลเข้าไปได้ เว้นแต่จะใช้วิธีการพิเศษซึ่งขึ้นกับชนิดของ
ROM
ชนิดของROM
  • Manual ROM ROM (READ-ONLY MEMORY) ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้
    โดย ROM จะมีการใช้ technology
    ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS
  • PROM (Programmable ROM) PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY) ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก 1” หรือ 0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ
  • EPROM (Erasable Programmable ROM) EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY) ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ใน EPROM ออกก่อน แล้วค่อยโปรแกรมเข้าไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 5-10 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่
  • EAROM (Electrically Alterable ROM) EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY MEMORY)
    EAROM
    หรืออีกชื่อหนึ่งว่า EEPROM (ELECTRICAL ERASABLE EPROM) เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
    การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน EPROM แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM
โดยทั่วไปจะใช้ EPROM เพราะเราสามารถหามาใช้ และทดลองได้ง่าย มีราคาถูก วงจรต่อง่าย ไม่ยุ่งยาก และสามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้ นอกจากระบบ ที่ทำเป็นการค้าจำนวนมาก จึงจะใช้ ROM ประเภทโปรแกรมสำเร็จ
จากรูปแสดงให้เห็นส่วนประกอบพื้นฐานของ ROM ซึ่งจะมีสัญญาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ROM และทุกชิปที่อยู่ใน ROM มักมีการจัดแบ่งแยกหน้าที่เสมอ เช่น ขาแอดเดรสของ ROM เป็นอินพุต ส่วนขาข้อมูลจะเป็นเอาต์พุต โดยหลักการแล้ว ขาข้อมูลจะต่อเข้ากับบัสข้อมูลซึ่งเป็นบัส 2 ทาง ดังนั้นเอาต์พุตของ ROM ในส่วนขาข้อมูลนี้มักจะเป็นลอจิก 3 สถานะ ซึ่งถ้าไม่ใช้ก็จะอยู่ในสถานะ ที่มีอิมพีแดนซ์สูง (High Impedence)
ลักษณะโครงสร้างภายในของข้อมูลในหน่วยความจำ สามารถดูได้จาก Data Sheet ของ ROM นั้นๆ เช่น ROM ที่ระบุเป็น 1024 8 ,2048 8 หรือ 4096 8 ตัวเลขชุดแรก (1024 ,2048 หรือ 4096) จะบอกจำนวนตำแหน่ง ที่ใช้เก็บข้อมูลภายใน ส่วนตัวเลขชุดที่สอง (8) เป็นตัวบอกจำนวนบิตของข้อมูลแบบขนาน
ที่อ่านจาก ROM
ในการกำหนดจำนวนเส้นของบัสแอดเดรสที่ใช้กับ ROM
เราสามารถรู้ได้ด้วยสูตร