วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การทำงาน Google Plus


               Google +, เครือข่ายทางสังคมดำเนินการโดย Google, Inc เปิดตัวใน 28 มิถุนายน 2011 ด้วยการผนวกรวมในจำนวนผลิตภัณฑ์ของ Google รวมถึง Buzz และโปรไฟล์
หนึ่งองค์ประกอบสำคัญของ Google + คือมุ่งเน้นการกำหนดเป้​​าหมายร่วมกันภายในส่วนย่อยของกลุ่มสังคมของคุณซึ่งเป็นสิ่งที่ Google เรียกกลุ่ม กลุ่มเป็นกลุ่มขนาดเล็กเพียงของคนที่คุณสามารถแบ่งปันให้กับแต่ละที่มีชื่อเช่นครอบครัวเพื่อนเพื่อนร่วมชั้นและเพื่อนร่วมงาน
นอกจากนี้ภายใน Google + Google มีส่วนสร้างเฉพาะสำหรับการดู, การจัดการและการแก้ไขมัลติมีเดีย แท็บภาพจะนำผู้ใช้ไปทั้งหมดของภาพถ่ายที่เขาหรือเธอมีที่ใช้ร่วมกันเช่นเดียวกับคนที่เขาหรือเธอจะติดแท็กมามันไม่ใช่แค่ติดแท็กภาพถ่ายแม้ว่า : Google + รวมถึงโปรแกรมแก้ไขภาพ (สมบูรณ์ด้วย Instagram เหมือนผลภาพถ่าย ) ตัวเลือกในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและคุณลักษณะร่วมกัน
คุณลักษณะที่กล่าวถึงก็คือ"Hangouts"Google ใหม่ของคุณลักษณะการสนทนากลุ่ม แทนโดยตรงขอให้เพื่อนที่จะเข้าร่วมการสนทนากลุ่มผู้ใช้แทนคลิกที่"เริ่มต้น hangout"และพวกเขากำลังได้ทันทีในวิดีโอ CHATROOM เพียงอย่างเดียว ในขณะเดียวกันจะมีข้อความออกไปวงการสังคมของพวกเขาให้พวกเขาทราบว่าเพื่อนของพวกเขาคือ"ห้อยออก."เพื่อนแล้วสามารถเข้าร่วมได้ hangout ตราบเท่าที่พวกเขาได้ถูกวางไว้ในวงกลมที่ได้รับเชิญโดยบุคคลที่สร้างขึ้นมา Hangout
สาเหตุุที่เลือก เพราะในปัจจุบันคนไทยนิยมกันคุยกันผ่านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีใหม่
อธิบายให้เข้าใจด้วยภาษาง่าย ๆ ปุ่ม เมนูต่าง ๆ บน Google Plus


1 สตรีม (รูปบ้าน)
ก็คือหน้ารวมของทุกสิ่งอย่าง คุณจะสามารถเขียนแบ่งเรื่องใหม่ ๆ แชร์ลิงก์ ส่งภาพ เพิ่มวีดีโอ
คุณจะสามารถเห็นทุกความเคลื่อนไหวของผู้คนในแวดวงของคุณได้ทั้งหมด
ใครเขียนอะไร คุยกับใคร ใครกด +1 ให้ใคร รับทราบได้
2 รูปภาพจากแวดวง (รูปภาพภูเขา)
จะเก็บรวบรวมทุกรูปภาพจากทุกคนในแวดวงของคุณ จะมีรูปภาพให้คุณดูชมเยอะแยะเต็มไป
หมด คุณสามารถเข้าถึงรูปภาพของตัวเอง รูปภาพจากโทรศัพท์มือถือได้จากที่นี่ พูดง่าย ๆ
อะไรที่เกี่ยวกับรูปภาพจะอยู่ตรงนี้
3 โปรไฟล์ (เงาคนในวงกลม)
จะเป็นหน้าส่วนตัวของคุณ สำหรับแนะนำตัว แสดงเพื่อนของคุณการพูดคุยสื่อสาร เก็บข้อมูลที่คุณแบ่งปัน รูปภาพ วีดีโอ ลิงก์ ฯลฯ คุณสามารถใช้โปรไฟล์ในการเผยแพร่ ส่งต่อ เพื่อให้คนรู้จักคุณผ่าน url : ยาววววว  https://plus.google.com/105795900800037368627/posts  (ใช้บริการเสริมย่อให้สั้นลงได้เพื่อสะดวกต่อการจดจำ)
4 แวดวง (วงกลมสีซ้อนกัน)
หน้านี้จะโชว์ภาพแทนตัวของคนทุกคนที่ติดต่อกับคุณ และคุณติดต่อกับเขา คนที่คุณเพิ่ม คน
ที่คุณเชิญ ใครเป็นใครทุกคนจะอยู่รวมกันในนี้หมด
คุณสามารถกำหนด และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ได้ ด้วยการลากแต่ละคนมาอยู่ในวงกลมความ
สัมพันธ์ที่กำหนดไว้ โดยค่าเริ่มต้นที่มีมาให้จะมีดังนี้
Acquaintances (คนรู้จัก) ,Family(ครอบครัว),Following(ผู้ที่ติดตาม),Friends(เพื่อน)
และคุณสามารถเพิ่มวงกลมความสัมพันธ์ได้ได้เองตามใจชอบ
คนที่คุณลากมาอยู่ในแต่ละวงกลม ก็เหมือนคนละกลุ่มกัน การเข้าถึงข้อมูล การพูดคุย
แลกเปลี่ยน หรือ สิ่งที่แชร์ก็จะเป็นเฉพาะกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะเห็นไม่เหมือนกัน
คนในวงกลมครอบครัว จะไม่รู้ไม่เห็นว่า คนในวงกลมเพื่อนคุยอะไร แชร์อะไรกัน
หรือวงกลมคนรู้จักคุณกำหนดให้เห็นข้อมูลส่วนตัวของคุณแบบผิวเผิน ในขณะที่วงกลมเพื่อน
คุณกำหนดให้เห็นข้อมูลของคุณทุกอย่างที่ต้องการแสดง
ทั้งหมดตั้งค่าปรับแต่ง ตามรูปแบบความเป็นส่วนตัวของคุณได้
5 รูปภาพแทนตัวของคุณ (เปลี่ยนได้ตามใจชอบ) เพื่อความเป็น Social Network ส่วนใหญ่นิยมใช้รูปตัวจริงเสียงจริงกัน
6 ส่วนแสดงข้อมูลรวม (อ่านรายละเอียดข้อ 1)
7 สตรีมข้อมูล ข่าวสาร การแชร์ แบ่งตามวงกลมความสัมพันธ์ (แวดวง) ที่คุณจัดไว้ ซึ่งข้อมูลจะแสดงไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่มแวดวง (อ่านรายละเอียดข้อ 4)
8 ถ้าคุณติดตั้งส่วนเสริมต่าง ๆ จะแสดงปุ่มส่วนเสริมตรงนี้ ในภาพมีการติดตั้งส่วนเสริม
สำหรับเล่น Facebook บน Google Plus ก็เลยมี ปุ่ม Facebook ด้วย
9 กูเกิล พลัส จะแนะนำเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ ให้คุณรู้จัก ถ้าคุณอยากรู้จักใครก็สามารถเพิ่ม
ไว้ในแวดวงของคุณได้
10 แสดงเพื่อนในแวดวงทั้งหมดของคุณ พร้อมบอกจำนวนว่ามีกี่คน (สุ่มโชว์ครั้งละ 14 คน)
11 แจ้งเตือน ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ใครพูดคุยอะไรกับคุณ กับใคร ใครแบ่งปัน ตอบ  แชร์อะไร เมื่อมีความเคลื่อนไหวจะแจ้งเตือนตลอดเวลา
12 เนื้อหาสาระดี ๆ ที่กูเกิลรวบรวมไว้ให้อ่านเล่น แบ่งตามหมวดหมู่ความสนใจ
13 ใช้ในการค้นหาผู้คนใน Google Plus
14 กลุ่มไอคอนที่ใช้ในการแบ่งปัน รูปภาพ วีดีโอ ลิงก์ ฯ



ข้อดี Google Plus คือ เราไม่จำเป็นต้องแชร์ทุกสิ่งอย่าง กับทุกคนที่เรารู้จักเราสามารถเลือกได้ว่าจะแชร์อะไรให้ใครบ้าง นี่อาจเป็นข้อดีประการหนึ่ง เพราะในชีวิตจริง คนบางคนบางกลุ่มคุณก็คุยด้วยอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็คุยอีกอย่างหนึ่ง  ภาพบางภาพคุณไม่อาจให้คนนี้ดูได้ ในขณะที่อีกคนในอีกลุ่มคุณอยากให้ดูให้เห็น


ข้อเสียของ Google Plus
- ไม่สามารถแชร์หรือฝากข้อความเฉพาะคนได้ คือเข้าไปใน profile ของเพื่อนสักคนนึง ไม่มีช่องให้แชร์ เพราะช่อง แชร์ไปอยู่ขวามุมบนสุด เกือบหาไม่เจอ
- ไม่มีกล่องข้อความหาเพื่อน เหมือน facebook 
- ตอนส่ง invite ตอนนี้ถ้าได้ listmail มาต้องส่งทีละเมล์ วางทีเดียวไม่ได้ (หมายถึงตอน add)

จุดเด่น Google Plus คือ สามารถเลือกคนที่เรายากจะคุยได้ การใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก 


โปรแกรมที่คล้ายกับ Google Plus คือ Facebook , Twitter ข้อแตกต่างกัน Facebook และ Twitter เป็นที่นิยมของคนกลุ่มใหญ่ สามารถมองเห็นอีกฝ่ายได้ และคุยแชท แชร์ ทางโทรศัพท์มือถือได้ การใช้งานง่ายคล้ายกัน ในปัจจุบัน FaceBook หรือ Twitterเป็นสิ่งที่นิยมกันมากในหมู่วัยรุ่นและบุคคลที่ต้องการสื่อสารสัมพันธ์กัน แม้ว่า FacBook จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถติดต่อสัมพันธ์กันในทางบวก แต่จากการศึกษาพบว่าในทางกลับกันFaceBookก็สามารถเป็นสื่อที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ในเวลาเดียวกัน FaceBook เป็นซอฟท์แวร์ในการสร้างเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลต่างๆที่ต้องการ หรือใส่ความสนใจที่ชอบ จากนั้นระบบจะค้นหาผู้ที่มีความสนใจในลักษณะเดียวกัน และผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลบในการเชื่อมต่อไปหาผู้ใช้อื่นๆได้ 


ข้อดีและข้อเสียของ FaceBook      
       ข้อดี
       1.FaceBook จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี
       2.ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
       3.ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
       4.สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
       5.FaceBook เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี ไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
       6.สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้
       
       ข้อเสีย
       1.FaceBook เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
       2.เพื่อนทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของ FaceBook ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
       3.Facebook อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
       4.การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่นการลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
       5.เด็กๆที่ใช้เวลาในการเล่น Facebook มากเกินไป จะทำให้เสียการเรียน
       6.ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น FaceBook ตั้งแต่ยังเด็ก
       7.FaceBook อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา
       8.นโยบายของบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย บางครอบครัวหรือในบางประเทศมีปัญหามากมายที่เกิดจากFaceBook ทำให้ FaceBook ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีในหลายพื้นที่




วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

มาร์ค วัน

อินิแอค


ยูนิแวค


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง



 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

Pipeline


Pipeline คือ เทคนิคทำให้คำสั่งหลายๆ คำสั่งทำงานพร้อมๆ กัน แต่ละส่วนจะทำงานให้เสร็จในส่วนของมัน แต่ละส่วนจะทำงานต่างกัน แต่ละส่วนเรียกว่า "Pipe Stage" และแต่ละส่วนจะทำงานต่อเนื่องเป็นทอด ๆ เขาเลยเปรียบเทียบ pipeline กับสายพานเครื่องจักรไงครับ เวลาที่ใช้เคลื่อนที่จากส่วนหนึ่ง (Pipe Stage) ไปยังอีกส่วนหนึ่ง เราเรียกว่า "Machine Cycle" เนืองจากทุกๆ ส่วนทำงานพร้อมกันดังนั้น ค่า Machine Cycle จะดูจากเวลาที่ใช้ใน Pipe Stage ที่ช้าที่สุด

...เป้าหมายสูงสุดของ Pipeline ก็คือ ต้องการให้ความยาวของ Pipeline แต่ละขั้นตอนเกิดความสมดุล ถ้าขั้นตอนแต่ละขั้นตอนสมดุลกันแล้วเวลาที่ใช้ต่อ 1 คําสั่งใน Pipeline จะเท่ากับการใช้ Pipeline จะส่งผลทําให้เวลาการทํางานต่อคําสั่ง 1 คําสั่งลดลง

...ดังนั้น ถ้ามีจำนวน Pipeline เยอะๆ ก็จะช่วยให้การประมวลผลคำสั่งได้เร็วยิ่งขึ้นไงครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ Pipeline และองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เพราะว่าคำอธิบายการทำงานมันก็เป็นแค่ทฤษฎี

...จริงๆ มันก็คือ การออกแบบขั้นตอนการประมวลต่อ 1 คำสั่งให้ใช้เวลาน้อยที่สุดอ่ะครับ จะได้ไม่เปลือง Clock และถ้ามีหลายๆ Pipeline มันก็จะช่วยประมวลผลพร้อมๆ กัน ทำให้เพิ่มความเร็วในการประมวลได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความถี่สัญญาณนาฬิกา (Clock) ให้สูงเสมอไป

CPU

ซีพียู
มีหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่าง ๆ ที่รับมาจากอุปกรณ์เช่น เมาส์และคีย์บอร์ด เมื่อประมวลผลแล้ว จะส่งผลไปให้กับอุปกรณ์ Output เช่นจอภาพ  ผ่านทางการ์ดแสดงผล  เสียงผ่านการ์ดเสียงพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์ ผ่านพอร์ต  Parallal ซีพียูที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นของ  2  คู่แข่งแห่งค่าย  Intel คือ  Celeron, Pentium III  และ Pentium 4  ส่วนค่าย AMD มีซีพียูที่มาแรงคือ 


Duron และ Thunderbird

ซีพียู CPU คือ  อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ซีพียูเป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ใจคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์โดยจะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพ


ตระกูลของซีพียู
                ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาดอย่างแพร่หลายมีอยู่ 3 ตระกูล คือ
๑.      Intel
2.   AMD
๒.   Cyrix










องค์ประกอบของซีพ

ลักษณะของตัวซีพียู จะหมายถึง รูปร่างหรือแบบของซีพียูที่ถูกผลิตออกมา ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
                1.  แบบการ์ดหรือตลับ
                มีลักษณะเป็นแผงหรือตลับสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านล่างมีหน้าสัมผัสสำหรับเสียบลงบนช่องต่อบนเมนบอร์ด ซึ่งเรียกว่า สล็อต (Slot)
                  2.  แบบชิป PGA
                 มีลักษณะเป็นแผ่นชิปบาง ๆ มักเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหลังจะมีขาเสียบ โดยรอบสำหรับเสียบลงช่องต่อบนเมนบอร์ด ซึ่งเรียกว่า ซ็อกเก็ต (Socket)
 
ลักษณะการเชื่อมต่อของซีพียูกับเมนบอร์ด
                ลักษณะของซีพียูนี้จะมีผลโดยตรงกับการเลือกเมนบอร์ด   โดยทั้งซีพียูและเมนบอร์ดจะต้องมีลักษณะการต่อเชื่อม ที่เหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ลักษณะดังกล่าวมาแล้ว      คือ                1.  แบบสล็อต  (Slot)                สำหรับเสียบซีพียูแบบการ์ดหรือตลับ ซึ่งปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ Slot 1 ที่ใช้กับซีพียูของค่ายอินเทลและSlotAที่ใช้กับซีพียูของค่ายเอเอ็มดี

ใช้กับ Pentium II, III, และ Celeron ของอินเทล
ใช้กับ Athlon ของเอเอ็มดี

2.  แบบซ็อกเก็ต (Socket)
สำหรับเสียบซีพียูแบบชิป PGA ซึ่งปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ เช่น Socket 7, Socket 370 สำหรับซีพียูของค่ายอินเทลและ Socket A สำหรับซีพียูของค่าย AMD

โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์

ความหมายของโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์
          ความหมายของคำว่า “ โครงสร้าง” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Stucture” ซึ่งมีความหมายตามพจนานุกรม New Model English – Thai Dictionary ของ So Sethaputra ว่า

             - โครงร่าง, โครง, แผน, รูป, ร่าง
             - อาการ ( หรือวิธี) สร้างของสิ่งใด ๆ
              - ลักษณะ, ทำนอง
             - สิ่งที่สร้างขึ้น, ตึก, โรงเรียน

             คำว่า Structure” จาก Computer Dictionary ของ Microsoft Press Second Edition ให้ ความหมายไว้ว่า  Structure : The design and composition of a program, including program flow, hierarchy, and modularity; also, a collection of data elements ซึ่งแปลว่า การออกแบบและส่วนประกอบของโปรแกรม รวมถึงแผนภูมิไหลขอโปรแกรม (Program Flow Chart), ลำดับขั้นตอนและส่วนประกอบ, และมีความหมายถึงการรวมกันของข้อมูลด้วยพจนานุกรม “Modern American Dictionary” ให้ความหมายของคำว่า Structure ได้ดังนี้

             - Mode of Building of Arrangement of Parts.
             - Something Constructed.
             - Complex System
  
โครงสร้างคอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์อย่างไร
             ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยองค์ประกอบสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ถ้าเราได้ศึกษาถึงโครงสร้างของคอมพิวเตอร์โดยละเอียดแล้ว จะทำให้เรารู้ถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ อย่างน้อยจะทำให้เรียนมีความสามารถดังนี้
             - ออกแบบสร้าง หรือบอกส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการใช้ หรือออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับงานที่ต้องการได้
             - สามารถเลือกซื้อหรือเลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับงานได้
             - สามารถประกอบหรือปรับปรุง (Up Grade) เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัยหรือเหมาะกับการใช้งาน
             - สามารถบอกหรือซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขัดข้องด้วยตัวเองได้

โครงสร้างคอมพิวเตอร์ คือส่วนประกอบใดของคอมพิวเตอร์
             ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงสิ่งสำคัญ 2 ประการด้วยกัน คือ
             - ชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์ที่นำมาประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ซีพียู จอมอนิเตอร์ว่าจะต้องมีอะไรบ้าง และแต่ละชิ้นนั้นมีหน้าที่ในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างไร วงจรการทำงานของอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนนั้น ๆ เพราะการทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ หรือของอุปกรณ์ต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับวงจร ถ้าไม่มีวงจรอุปกรณ์นั้นจะทำงานไม่ได้ หรือถ้าวงจรของอุปกรณ์นั้นเกิดชำรุดเสียหาย อุปกรณ์นั้นก็จะทำงานไม่ได้หรือทำงานผิดพลาดขึ้น

ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการทำวานของเครื่องคอมพิวเตอร์
             ความหมายของคำว่า “ คอมพิวเตอร์” “ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์” และ “ ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์” ดังนั้น จะต้องทำความเข้าใจใน 3 เครื่องที่สำคัญนี้ก่อน คือ
             - คำว่า “ คอมพิวเตอร์” ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Computer ซึ่งมาจากคำว่า Compute แปลว่า “ คำนวณ” และคำว่า “Computer” ก็แปลว่า “ เครื่องคำนวณ” นั่นเอง ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์ของผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ในครั้งแรกก็เพื่อใช้ในการคำนวณ หลักการสำคัญในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะเรียกว่า “ การโปรเซส (Process)” ซึ่งเป็นวงจรที่มีหน้าที่สั่งการและควบคุมการทำงานของวงจรการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกวงจรให้ทำงานตามความต้องกมารของโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ ต่อมาได้มีการพัฒนาปรับปรุงวงจรโปรเซสเซอร์ ให้อยู่ในรูปของวงจรรวม ที่เรียกว่า วงจรไอซี (IC : Integrated Circuit) หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า “ ซีพียู (CPU : Central Processing Unit)” ความหมายของ “ คอมพิวเตอร์” หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงตัว Processor หรือตัว CPU นั่นเอง ซึ่งจะไม่รวมอุปกรณ์เครื่องพ่วงอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
             - คำว่า “ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์” หมายถึง “ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์” ประกอบกับอุปกรณ์ทำงานต่าง ๆ ของเครื่องที่เรียกว่า เครื่องพ่วงหรืออุปกรณ์พ่วง (Peripheral) ต่าง ๆ ที่ ประกอบกันเข้าเป็นระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer System) ดังนั้น คำว่าระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
                          - อุปกรณ์เครื่องพ่วงที่ใช้เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า ที่เรียกว่า Input Unit เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ เป็นต้น
                          - ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือซีพียู ซึ่งมีหน้าที่สั่งการ และควบคุมการทำงานของวงจรทางด้านนำข้อมูลเข้า (Input Devices) และอุปกรณ์นำข้อมูลออก (Output Devices)
                          - อุปกรณ์เครื่องพ่วงที่ใช้เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลออก ที่เรียกว่า Output Unit เช่น Printer และจอมอนิเตอร์ เป็นต้น


รูปแสดงระบบคอมพิวเตอร์

             อุปกรณ์เครื่องพ่วงทุกชิ้นไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ทางด้านนำข้อมูลเข้า หรือนำข้อมูลออก เป็นอุปกรณ์อิสระที่สามารถทำงานด้วยตัวของตัวเอง และมีลักษณะเป็นชิ้นส่วนที่สามารถแยกหรือนำมาประกอบกันได้ เรียกว่า โมดูล (Module) ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถที่จะนำชิ้นส่วนใด ๆ ตามที่ต้องการ จึงเรียกระบบคอมพิวเตอร์ว่าเป็นระบบโมดูลา (Modular System) ทำให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับประโยชน์อย่างน้อย ดังนี้
             - ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเลือกใช้อุปกรณ์อะไรเป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า และนำข้อมูลออก ประกอบเป็นระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตามความต้องการที่เหมาะสมกับงานและเงินของตนเอง
             - เป็นการประหยัดเวลาในการสร้างหรือประกอบระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะอุปกรณ์ทุกชิ้นเป็นโมดูล (Module)
             - เป็นการประหยัดเงิน และค่าใช้จ่ายในการประกอบเป็นระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะใช้แต่อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานเท่านั้น
             - เป็นการสะดวกและง่ายในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกรณีอุปกรณ์ชำรุด หรือเสีย หรือในกรณีที่ต้องการเพิ่มหรือลด (Upgrade) เช่น การเพิ่มหน่วยความจำ การเพิ่มความจุของดิสก์ เป็นต้น
       - ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึง หลักและวิธีการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่หลายวิธีการด้วยกัน เมื่อกล่าวโดยสรุป วิธีการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ
             - การทำงานในลักษณะของแบ็ตโปรเซสซิง (Batch Processing) ซึ่งอาจจะทำครั้งละหนึ่งงาน หรือครั้งละหลายงานพร้อมกันก็ได้ เรียกว่า การทำงานเป็นแบบมัลติโปรแกรมมิง (Multi Programming) วิธีนี้เป็นวิธีการที่รวบรวมงานทั้งหมดที่จะทำในครั้งเดียวกัน เอามาทำพร้อมกัน โปรเซสพร้อมกัน และได้ผลของงานพร้อมกัน
             - การทำงานในลักษณะออนไลน์ (On-line Processing) เป็นการทำงานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ไม่จำเป็นต้องรวบรวมงานเพื่อทำเป็นกลุ่ม เช่น การฝาก – ถอนเงินจากเครื่องคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (ATM) การอัพเดตบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ของธนาคารโดยเจ้าของบัญชีเป็นผู้ทำงานเอง

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)


ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร
    1. หน่วยควบคุม
    2. หน่วยคำนวณและตรรก
    3. หน่วยความจำ
    4. (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
3.    หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
    1. หน่วยความจำภายใน
    2. - หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ - หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่             2.    หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ แผ่นดิสก์หรือสเกต
        1. แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
        2. แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
        3. แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
(Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล

1.     หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2.    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ